วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Communicative Language Teaching

การศึกษาเป็นกระบวนการ
ต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย

          เชื่อว่า เด็กจะต้องรู้วิธีการประยุกต์ใช้ภาษาในการสื่อสาร
                     - รู้โครงสร้างประโยค และไวยากรณ์
                     - รู้การใช้ภาษาทางสังคม
                     - เห็นความเชื่อมโยงกันของประโยคต่างๆ
                     - ใช้เทคนิคอื่นๆ ในการสื่อสาร (ท่าทาง การเขียน ฯลฯ

          ลักษณะเฉพาะของการสอนแบบนี้ คือ
                     - รู้ว่าจะใช้ภาษาเมื่อไหร่
                     - ใช้กลยุทธิ์หลากหลาย
                     - ใช้ถูกต้อง และคล่องแคล่ว
                     - ใช้ได้จริง

Community Language Learning

ครูเป็นผู้ให้คำปรึกษาทางภาษา
และเข้าใจในทุกสิ่งที่นักเรียนเป็น

หลักการ
- ผู้เรียนเป็นผู้รับบริการ ครูเป็นผู้ให้คำปรึกษา
- ครูสร้างความน่าเชื่อใจ
- อนุญาติให้ใช้ภาษาแม่ได้
- ดูตัวอย่าง แล้วสรุปไวยากรณ์
- คำพูดของนักเรียนจะถูกบันทึกไว้
- เมื่อนักเรียนพร้อมค่อยพูดภาษาเป้าหมาย
- ตอนท้าย มาคุยกันถึงความรู้สึกในการเรียน
- จัดให้นักเรียนได้ทำกิจกรรม

ขั้นตอนการสอน
- นั่งเป็นวงกลม อัดเสียงโดยใช้ไมโครโฟน
- ฟังเทป
- สร้างประโยค เป็นกลุ่ม
- พูดคุยถึงความรู้สึกในการเรียน

เทคนิคการสอน
- บันทึกบทสนทนา
- ถอดเทป
- สะท้อนการเรียน
- ฟังบทสนทนา
- ครูช่วยผู้เรียนเรื่องการพูด
- ทำงานกลุ่ม

Suggestopedia

เชื่อว่า ผู้เรียนสร้างสิ่งกีดกั้นในตัวเอง
ผู้สอนต้องกำจัดสิ่งกีดกั้นนั้น

หลักการ
- อยู่ในสถานที่ที่สะดวกสบาย
- ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้โดยการซึมซับ
- ถ้านักเรียนเชื่อใจครู ก็จะสามารถเรียนได้รวดเร็วกว่า
- ครูกำจัดความกลัวของนักเรียน
- ครูทำให้นักเรียนมั่นใจ
- ใช้ภาษาแม่ในการอธิบาย
- ใช้ศิลปะมาบูรณาการ
- ครูทนข้อผิดพลาดของนักเรียนได้

ขั้นตอนการสอน
- นักเรียนเลือกชื่อและอาชีพใหม่ให้ตัวเอง
- ครูเสนอบทสนทนา คำศัพท์ และไวยากรณ์
- ครูอ่านบทความ คล้ายกับการจัดคอนเสิร์ต 2 รอบ
          รอบแรก อ่านตามจังหวะ และทำนองเพลง
          รอบสอง อ่านตามปกติ
- ทำกิจกรรมที่หลากหลาย

เทคนิคการสอน
- จัดบรรยากาศในห้องเรียน
- จัดสื่อในชั้นเรียน
- ครูเป็นผู้แนะนำที่ดี
- ครูบรรยายให้เห็นภาพ
- เลือกชื่อ อาชีพ ตัวตนใหม่
- บทบาทสมมติ
- กิจกรรมหลากหลาย

Total Physical Response (TPR)

เน้นกระตุ้นให้ใช้สมองซีกขวามากกว่าซ้าย
เรียนอย่างมีความสุข

เป้าหมาย
- ครูเป็นผู้กำกับ นักเรียนเป็นนักแสดง
- ฟังและตอบสนองด้วยท่าทาง
- ใช้ประโยคคำสั่งที่ขึ้นต้นด้วยคำกริยา
- ครูเล่นมุขเมื่อมีโอกาส
- ครูจะไม่พูดจนกว่าเด็กจะแสดงออกมา
- เน้นไวยากรณ์มากกว่าภาษาเขียน

ขั้นตอนการสอน
- ครูสั่งนักเรียน
- ครูทำพร้อมนักเรียน
- ครูเพิ่มคำสั่งใหม่
- ครูสั่งคำสั่งที่นักเรียนไม่เคยได้ยินมาก่อน
- ครูเขียนคำสั่งใหม่บนกระดาน

เทคนิคการสอน
- ใช้คำสั่งเพื่อทำกิจกรรม
- สลับบทบาทระหว่างครู - นักเรียน
- ใช้คำสั่งที่เป็นลำดับขั้นตอน

The Silent Way

เชื่อว่า การสอนสำคัญน้อยกว่าการเรียนรู้
เน้นการสร้างสมมติฐาน

หลักการสำคัญ
- การเรียนรู้เกิดจากการค้นพบ ไม่ใช่ท่องจำ
- การเรียนรู้ต้องมีสื่อที่เป็นรูปร่าง
- การเรียนรู้ต้องมีการแก้ปัญหา

ขั้นตอนการสอน
- สอนการอ่านออกเสียง
- สอนคำโดยใช้แท่งไม้
- สอนโดยการเอาคำมาต่อกัน
- อ่านประโยคที่นักเรียนแต่งโดยใช้แผ่นชาร์ต
- เขียนประโยค

เทคนิคการสอน
- ใช้ซาวด์คัลเลอร์ชาร์ต
- ครูเงียบ
- เพื่อนช่วยแก้
- ใช้แท่งไม้
- แก้ไขด้วยตัวเอง
- ใช้เวิร์ดชาร์ต
- แยกเสียงต่างๆ
- การให้ข้อมูลย้อนกลับ

Audiolingual Method (ALM)

เน้นการท่องจำ
การออกเสียงตามหลักไวยากรณ์

ขั้นตอนการสอน
- นักเรียนฟังบทสนทนา
- ฝึกพูดบทสนทนาซ้ำๆ
- ฝึกประโยค
- ฝึกบทสนทนาเป็นกลุ่ม เป็นคู่ หรือร่วมกันทั้งห้อง
- ฝึกแปลงประโยค

เทคนิคการสอน
- จำบทสนทนา
- ฝึกจำจากหลังมาหน้า
- ฝึกซ้ำๆ
- ฝึกถามคำถามต่อไปเรื่อยๆ
- เปลี่ยนคำศัพท์บางคำในประโยค
- เปลี่ยนประโยคเป็นประโยคแบบต่างๆ (บอกเล่า คำถาม ปฏิเสธ)
- อ่านคำที่ออกเสียงใกล้เคียง
- ฝึกเติมคำที่หายไปในบทสนทนา

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

The Direct Method (natural method)

เน้นการพูด คำศัพท์
และประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

เป้าหมาย
- ใช้การสาธิตแทนคำแปล
- ไม่ใช้คำ เน้นแต่งเป็นประโยค
- ไม่ใช้หนังสือ สอนตามแผนการเรียนรู้
- พูดอย่างเป็นธรรมชาติ
- ต้องค่อยๆ สอนไปตามความสามารถของผู้เรียน
- ผู้สอนต้องมีความอดทน

ขั้นตอนการสอน
- ฟัง หรืออ่านบทสนทนา
- สอนโดยใช้ภาษาเป้าหมาย
- ฝึกออกเสียง
- ถามคำถามเพื่อเช็คความเข้าใจของผู้เรียน
- สอนโครงสร้างไวยากรณ์
- ทำแบบฝึกหัด เขียนเรียงความ เขียนตามคำบอก

เทคนิคการสอน
- อ่านออกเสียง
- ฝึกแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตัวเอง
- เขียนตามคำบอก
- เขียนย่อหน้า

Gramma Translate Method

เน้นการอ่านและการเขียน
กฎโครงสร้างไวยากรณ์

เป้าหมาย
- รู้กฎไวยากรณ์และแปลได้
- เน้นอ่าน และเขียน
- ฝึกคำศัพท์
- ฝึกถึงระดับประโยคเท่านั้น (เน้นแปลถูกตามไวยากรณ์)
- เน้นความถูกต้อง
- สอนแกรมม่าแบบสรุป
- ใช้ภาษาแม่ในการอธิบาย

ขั้นตอนการสอน
- สอนศัพท์
- สอนโครงสร้างไวยากรณ์ และทำแบบฝึกหัด
- อ่านเพื่อตอบคำถาม
- ทำการบ้าน ท่องจำ เขียนประโยค แปล

เทคนิคการสอน
- แปลบทอ่าน
- อ่านตอบคำถาม
- เติมคำในช่องว่าง
- แต่งประโยค
- เขียนเรียงความ

ประวัติโดยย่อของการสอนภาษา

---เริ่มต้นจากภาษาลาตินเมื่อ 500 ปีที่แล้ว
---ในศตวรรณที่16 ก็เริ่มมีภาษาต่างๆเข้ามา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอิตาลี
---ศตวรรษที่16 ถึง ศตวรรษที่19 เน้นการสอนไวยากรณ์ การแปล การฝึกเขียนประโยค เรียกการสอนแบบนี้ว่า "grammar schools"
---ศตวรรษที่ 18 เริ่มที่จะเปลี่ยนแนวการสอนที่ทันสมัยขึ้น เน้นการอ่านและการเขียนมากขึ้น
เป้าหมายหลัก
1. พัฒนาสติปัญญา โดยเน้นการอ่าน และการเขียน
2. เน้นการอ่านและการเขียน (ฟัง พูดไม่สำคัญ)
3. เน้นศัพท์
4. เน้นแปลประโยคให้ถูกต้อง
5. เน้นความถูกต้อง ไม่เน้นความคล่อง
6. สอนไวยกรณ์แบบบอกโครงสร้างก่อน แล้วตามด้วยประโยคตัวอย่าง
7. มีวิธีการสอนโดยการใช้ภาษาแม่

Richard, Jack C.& Rogers, Theodore S. 1989. Approaches and Methods in Langage Teaching. Cambridge: Cambridge University Press.